หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

งานวิจัย

บทความ

นิทาน

รายชื่อสามาชิกกลุ่มเรียนที่101

เพลง

ตัวอย่างสื่อการสอน

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง
การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม
         การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กควรให้เด็กมีโอกาสได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัส ได้จัดกระทำกับวัตถุจริงมีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะเรียนรู้โดยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้นและการมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนในห้องเรียนส่งผลต่อการสร้างความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ เช่นการซักถามด้วยความเอาใจใส่ของครู ส่วนการสร้างความรู้และข้อมูลย้อนกลับไปนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเองเด็กไม่ต้องการการสอนโดยตรง แต่จากการที่ได้รับเผชิญปัญหาจะส่งผลให้เด็กได้พัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดและเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของสมอง เน้นของการจัดประสบการณ์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม
2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 15 คนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเศรษฐวิทย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผู้วิจัยได้สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยเน้นกิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน
1.ทักษะการรวบรวม
2.ทักษะการจัดหมวดหมู่
3.ทักษะการจำแนก
4.ทักษะการเปรียบเทียบ
5.ทักษะการเรียงลำดับ
ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับวัยผู้วิจัยจึงสร้างแบบฝึกกิจกรรมโดยเรียงลำดับจากเนื้อหาง่ายไปถึงยาก

สรุปผลการวิจัย

แบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการคิดวิเคราะห์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้จริงเนื่องจากนักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้จากแบบชุดฝึกกิจกรรมมาสู่แบบทดสอบจึงทำให้ผลการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเกินร้อยละ80ทุกคนอีกทั้งเมื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ที่สำคัญนักเรียนอาจนำความรู้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ไปต่อยอดความคิดวิเคราะห์ในขั้นที่สูงขึ้นต่อไปได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น